
การวิ่งทำให้ “ขาใหญ่” จริงหรือไม่ ?
ขอยกตัวอย่างนักวิ่ง Sprint ระยะ 100-500 เมตร พวกเขาเหล่านี้มักจะมีรูปร่างที่ดูใหญ่กล้ามแขนและขาเป็นมัด ๆ นั่นก็เพราะเป็นกล้ามเนื้อชนิดสร้างแรงมาก ๆ ใช้พลังงานจากกลูโคส เป็นการทำงานเหมือนระเบิดมาวูบเดียวแล้วก็ดับไป พลังงานที่ได้ออกมาจะมากมายมหาศาลแต่ไม่ต่อเนื่องลากยาว (Fast Twitch เส้นใยกล้ามเนื้อกระตุกเร็ว) ก็จะพัฒนาให้กล้ามพองใหญ่ รูปร่างเลยใหญ่ กล้ามเนื้อเยอะ และแข็งแรง เสมือนนักเพาะกายที่เน้นสร้างกล้ามเนื้อเฉพาะจุดนั่นเอง
แต่พอมาดูนักวิ่งมาราธอน หุ่นจะเพรียวกว่า กล้ามเนื้อแห้งเล็ก เพราะใช้กล้ามเนื้ออีกชนิดหนึ่ง ซึ่งการทำงานของมันจะนำออกซิเจนในอากาศมาแปลงเป็นพลังงานให้ร่างกาย สามารถเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องยาวนาน ไม่หมดแรงง่ายๆ เน้นความทนทาน สร้างแรงน้อยๆอย่างต่อเนื่องนานๆ (Slow Twitch เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้า)
การพัฒนากล้ามเนื้อชนิดนี้กล้ามเนื้อจะแบน แฟบ แต่เหนียวและทนทานมาก ทำให้นักวิ่งมาราธอนระยะไกล ยิ่งวิ่งก็ยิ่งผอมเพรียวสมส่วน เพราะสามารถเผาผลาญไขมันที่สะสมไว้จนเหลือเท่าที่จำเป็นต่อร่างกายเท่านั้น
สรุปทั้งหมด
ดังนั้นคำตอบที่บอกว่าวิ่งแล้วขาใหญ่นั่นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ? คำตอบก็คือ “ไม่” ทีนี้เรามาดูสาเหตุให้ชัดเจนกันมากขึ้นกันดีกว่า เพราะเราเชื่อว่ายังคงมีสาว ๆ หลายคนที่กังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ไม่น้อยแน่นอน
ก่อนอื่นคุณควรตรวจสอบให้แน่ใจซะก่อนว่าขาของคุณมีลักษณะเป็นแบบใด ซึ่งวิธีง่าย ๆ ในการเช็คขาของตัวเองนั่นก็คือ ลองจับต้นขาหรือน่องของตัวเองดูว่าที่ขาใหญ่นั้นเป็นเพราะมีกล้ามเนื้อมากกว่าไขมันหรือมีไขมันมากกว่ากล้ามเนื้อ เพื่อที่ว่าจะได้เลือกบริหารได้อย่างถูกต้อง
หากพบว่าเป็นมีลักษณะนิ่ม ๆ เหมือนเนื้อเหลว ก็หมายถึงว่า ขาของคุณมีไขมันมากกว่ากล้ามเนื้อ ซึ่งถ้าเราวิ่งออกกำลังกายไปเรื่อย ๆ นั้น ไขมันส่วนนี้จะลดลง ไม่มีทางเป็นกล้ามเนื้อแน่นอน แต่กรณีที่จับดูแล้วพบว่าน่องแข็งเล็กน้อย แสดงว่า น่องของเรามีกล้ามเนื้อพอสมควร มีไขมันน้อยมาก หากวิ่งออกกำลังกายไปเรื่อย ๆ กล้ามเนื้อส่วนนี้จะยิ่งกระชับ และแข็งขึ้น
และที่สำคัญคือร่างกายของผู้หญิงนั้นจะมี Hormones Testosterone น้อยมาก (ฮอร์โมนความเป็นชาย) ทำให้ผู้หญิงสร้างกล้ามเนื้อแบบผู้ชายไม่ได้ ดังนั้นถ้าไม่ใช้สารกระตุ้นผู้หญิงก็ไม่ต้องกลัวขาใหญ่บึ้มเหมือนนักเพาะกายเลยครับ มีแต่จะทำให้ของของคุณเฟิร์มขึ้น